วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Recorded Diary 10 october 20.2015



Recorded Diary 10 october 20.2015




Knowledge


นำเสนองานวิจัย


นางสาวปรางชมพู บุญชมเรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ


       การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะจึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากการสังเกตขณะที่เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีสื่ออย่างหลากหลายและทำชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ที่เน้นสมองเป็นฐานการเรียนรู้ในแต่ละครั้งเด็กได้นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งทักษะการสังเกต การจำแนก การสื่อสารและการลงความคิดเห็นจึงส่งผลให้เด็กได้รับการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างสมบูรณ์

นางสาวชนากานต์ แสนสุข
เรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนของครูปฐมวัยโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. ครูเล่านิทาน แล้วให้เด็กออกมาเล่าประสบการณ์เดิมของเด็กๆ
2. ครูแบ่งกลุ่มให้เด็กเท่าๆกัน แจกขวดแชมพู ใส่น้ำในขวดแชมพูให้เต็มแล้วถามเด็กว่า ลักษณะของขวดแชมพูเป็นอย่างไร ให้เด็กๆตอบ จากนั้นให้เด็กทดลองบีบขวดจนน้ำในขวดแชมพูหมด


ระดมความคิดภายในกลุ่ม การทำ Cooking ขนมโค



ขนมโค




วัตถุดิบ


- แป้งข้าวเหนียวแห้ง   2 ถ้วย
- น้ำต้มใบเตย 1 ถ้วย ตวงกับอีก 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปูนใส     2  ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลปึกก้อนแข็งๆ   1 ถ้วยตวง(หั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า)
- มะพร้าวขูดและเกลือป่นเล็กน้อย


วิธีทำ

- นวดแป้งข้าวเหนียวกับน้ำปูนใสและน้ำใบเตยจนนุ่มพอที่จะปั้นได้สะดวก ควรนวดนานๆ อย่างน้อย 20 นาที แล้วใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำคลุมพักไว้อีก 30 นาที เป็นอย่างน้อย
- ขูดมะพร้าวด้วยที่ขูดมือเป็นเส้นฝอยเล็กๆแล้วเคล้ากับเกลือป่น ถ้าต้องการเก็บไว้หลายชั่วโมง ให้นำขึ้นนึ่งให้ร้อนจัดเสียก่อนใช้
- คลึงแป้งที่นวดเตรียมไว้ออกเป็นแท่งกลมยาว แล้วใช้มีดตัดเป็นท่อนสั้นๆ แต่ละท่อนเมื่อคลึงให้กลมแล้วจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ? เซนติเมตร
- เมื่อแผ่แป้งแต่ละก้อนให้เป็นแผ่นแบนตามขนาดแล้ว ใส่น้ำตาลปึกที่เตรียมไว้ลงตรงกลาง แผ่นละ 1 ชิ้น ตลบชายหุ้มน้ำตาลให้มิด แล้วคลึงให้กลม
- ต้มน้ำให้เดือด น้ำแป้งที่ปั้นไว้ลงต้ม พอแป้งสุกจะลอยขึ้นมาบนผิวหน้า ใช้ทัพพีโปร่งตักขึ้น ชุบน้ำเย็น สะบัดให้สะเด็ดน้ำ แล้วใส่ลงในมะพร้าว ที่คลุกเตรียมไว้แล้ว คลุกให้เข้ากัน จัดลงในจาน




Skill
   อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนองานวิจัย จากนั้นให้นักศึกษาระดมความคิดการทำ Cooking ในหน่วยที่กลุ่มของตัวเองรับผิดชอบ


วิธีการสอน
   บรรยายโดยการถามตอบ ให้นักศึกษาระดมความคิด

Classroom Evaluation

   ห้องเรียนสะอาดกว้าง อุปกรณ์การเรียนเหมาะกับการใช้สอย

Self Evaluation
   มาเรียนตรงเวลา ทำงานมาส่งตามที่อาจารย์ได้รับมอบหมาย 
  
Evaluation for classmated
เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน
   
Evaluating teacher
   อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนเรียบร้อย อธิบายเข้าใจง่าย



วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สรุปโทรทัศน์ครู



สรุปโทรทัศน์ครู

รายการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ปี 2 ตอนที่ 7 สี





1.กิจกรรมทาสีให้โกงนก
โดยให้เด็กทาสีบ้านนกตามจิตนาการ โดยใช้แม่สีในการทาบ้านนก
ได้แก่ สีแดง สีน้ำเงิน และสีเหลือง และให้เด็กผสมสีเพื่อให้เกิดเป็นสีใหม่ ได้แก่ 
สีน้ำเงิน+สีแดง=สีม่วง   
สีน้ำเงิน+สีเหลือง= สีเขียว
 สีเหลือง+สีแดง = สีส้ม

2.กิจกรรมสีอะไรเอ่ย
อุปกรณ์
แก้มน้ำ
น้ำ
กระดาษเช็ดชู่
แม่สี

วิธีทดลอง
-เติมน้ำใส่แก้ว 3 ใบ-หยดสีที่ต้องการอยากรู้ว่าผสมกันแล้วจะเป็นสีอะไรใส่แก้ว สีละ1ใบ
-เตรียมน้ำใสแก้วป่าว 1 ใบ
-น้ำแก้วที่ใส่น้ำป่าวไว้ตรงกลางและนำแก้วที่มีไว้ด้านข้างทั้งสองข้างของแก้วน้ำป่าว
-นำกระดาษเช็ดชูจุ่มลงในแก้วที่มีสีและแก้วน้ำป่าวทั้งสองข้างสีที่ได้
สีน้ำเงิน+สีแดง = สีม่วง
สีน้ำเงิน+สีเหลือง= สีเขียว
สีแดง+สีเหลือง = สีส้ม

Recorded Diary 9 october 13.2015

Recorded Diary 9 october 13.2015


 Knowledge

นำเสนอบทความของนางสาวสุทธิกานต์


เรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร?



     กิจกรรม นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยทำให้เด็กได้ร่วมกันหาคำตอบจากคำถามที่ว่า

โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ?


 เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้ใช้ทรัพยากรดิน น้ำ อากาศและพลังงาน จึงมุ่งหวังให้เด็ก ๆ ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยมองเห็นประโยชน์ของทรัยาการเหล่านี้จากการทำกิจกรรม
สสวท.ได้เห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ จึงจัดกิจกรรมนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยให้กับเด็กซึ่งมีกิจกรรมดังนี้

1. กิจกรรม “หวานเย็นชื่นใจ” เด็กๆ ค้นพบว่าโดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลว เมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำและน้ำหวานมีอุณหภูมิลดต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง

2. กิจกรรม “โมบายเริงลม” พลังงานจากลมช่วยให้สิ่งของต่างๆ เกิดการเคลื่อนที่ ในกิจกรรมนี้เมื่อเด็ก ๆ ทำโมบายที่สวยงามแล้ว นำไปแขวนในที่ที่มีลมพัด โมบายก็จะเคลื่อนที่และเกิดเสียงที่ไพเราะ นอกจากนี้ในการทำโมบายจะเข้าใจหลักการสมดุลของแรงด้วย
          
  
นางสาวสุทธิณี โนนบริบูณร์
เรื่อง เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง


   
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เด็กจะได้เรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิธีการล่องแก่งอย่างปลอดภัย และรู้จักอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายในการล่องแก่ง กิจกรรมนี้ผู้ปกครองยังได้ร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆนอกจากสนุกสนานแล้ว เด็กยังจะได้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การตั้งคำถามการคาดคะเน การสังเกต และลงความคิดเห็น ทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆที่สำคัญคือได้ตระหนักถึงคุณค่าแหล่งเรียนรู้ในชุมชน


นางสาวเจนจิรา เทียมนิล
เรื่อง สอนลูกเรื่องแม่เหล็ก(
Teaching Children about Magnetic Force)

     
 แม่เหล็กเป็นเรื่องที่เด็กสนใจและเป็นเรื่องที่แปลก เพราะนำมาประดิษฐ์เป็นของเล่น ถึงแม้เด็กจะไม่สามารถเห็นแรงแม่เหล็กได้ด้วยตาตนเอง เพราะแรงแม่เหล็กเป็นแรงธรรมชาติชนิดหนึ่ง มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่เด็กจะรับรู้ได้จากผลการกระทำของแม่เหล็กที่สามารถดึงดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่ใหญ่เข้าไปหาแม่เหล็ก

ลำดับขั้นตอนการทดลองวิทยาศาสตร์









Skill
   
อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความและให้ความรู้เพิ่มเติมต่อบทความนั้น และให้นักศึกษานำของเล่นมาช่วยกันคิดวิเคราะห์หาคำตอบร่วมกับอาจารย์โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดพร้อมหาข้อสรุป

วิธีการสอน
   ให้นักศึกษาออกมาพูดถึงงานที่ตัวเองได้รับผิดชอบว่ามีอะไรบ้าง แล้วให้ดูศึกษาของเล่นของเพื่อนอีกกลุ่มว่ามันคืออะไร อยู่ในวิทยาศาสตร์เรื่องอะไร

Classroom Evaluation

   ห้องเรียนสะอาดกว้าง อุปกรณ์การเรียนเหมาะกับการใช้สอย

Self Evaluation
   มาเรียนตรงเวลา ทำงานมาส่งตามที่อาจารย์ได้รับมอบหมาย 
  
Evaluation for classmated
เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ทำงานมาส่งตรงเวลาตามที่ได้รับมอบหมาย
   
Evaluating teacher
   อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนเรียบร้อย อธิบายเข้าใจง่าย


Recorded Diary 8 october 6.2015

Recorded Diary 8 october 6.2015






The knowledge

เพื่อนนำเสนอโทรทัศน์ครู

นางสาวเวรุวรรณ ชูกลิ่น
 เรื่องกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก
จัดเป็นการเล่นของเล่นโดยการทดลอง

1.เรื่องแรงโรยตัว เป็นของเล่นเกี่ยวกับการทำนักดำน้ำจากหลอดกาแฟ เมื่อบีบขวดทำให้หลอดที่มีอากาศอยู่ข้างในเข้าไปแทนที่น้ำหลอดจึงจมลง เป็นความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของอากาศ + แรงดันอากาศ


2.เรื่องเลี้ยงลูกด้วยลม เป่าให้ลูกบอลลอย ใช้หลอดเป่าลมประคองวัตถ

3.ถุงพลาสติกมหัศจรรย์ ใช้ดินสอทิ่มถุงพลาสติก น้ำไม่สามารถไหลออกได้ เนื่องจากเนื้อพลาสติกเกิดการขยายตัวขึ้น

4.ความดันยกของ เราสามารถยกของต่างๆได้อย่างไร การทดลองคือ นำเอาวัตถมาวางทับุงพลาสติกจากนั้นเป่าลมเพื่อทำให้พองจึงจะสามารถทำให้วัตถุลอยขึ้นได้




นางสาว วัชรี  วงศ์สะอาด 
เรื่อง วัยอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว

     
 ครูจะพาเด็ก ๆ สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวทุกเช้าหลังเข้าแถวเสร็จ  ครูจะพาเด็ก ๆ เดินสำรวจรอบโรงเรียน  เด็กจะได้ความเป็นนักวิทยาศาสตร์เริ่มจากการสังเกต วิธีการสอนจากการสำรวจจะเชื่อมโยงไปถึงหน่วยการเรียนรู้ในห้องเรียนด้วย เช่น คุณครูสอนเด็กเรื่อง หญ้าแฝกทำไมถึงกันดินทลายได้  ครูก็จะเชิญวิทยากรมาให้ความรู้กับเด็ก  และเด็กก็จะได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง  เด็กได้ลองเทน้ำลงไปในดินเปล่า  และดินที่มีหญ้า  เด็กก็จะเห็นถึงความแตกต่างกัน


นางสาว ภัทรวรรณ  หนูแก้ว เลขที่ 16 เรื่อง นารีวุฒบ้านวิทยาศาสตร์น้อย


บ้านวิทยาศาสตร์หนูน้อย จัดการเรียนการสอนทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กอนุบาลในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เพื่อส่งเสริมให้น้องอนุบาลได้รู้จักคิด ชังสังเกตและคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลตัวอย่างการทดลองตัวทำละลาย ในการทดลองครูจะถามเด็ก ๆ ว่าอุปกรณ์ที่วางอยู่เรียกว่าอะไรและถามถึงประสบการณ์เดิมของเด็กให้เด็กได้อธิบาย จากนั้นเริ่มการทดลอง โดยมีเกลือ น้ำตาลและทราย และจะให้เด็กสังเกตว่าทั้ง 3 อย่างนี้มีตัวไหนสามารถละลายน้ำได้บ้าง ให้เด็กตอบ ครูจะเป็นผู้เฉลยหลังจากที่เด็กได้ตอบคำถามแล้วตัวอย่างการทดลองจมหรือลอย  โดยมีทดลองแยกเป็น 2 ส่วน คือ น้ำกับน้ำมัน และทรายกับน้ำตาลและน้ำ แล้วจึงตั้งคำถามว่าทำไมน้ำมันถึงลอยน้ำได้ แต่ทำไมทรายและน้ำตาลถึงจมน้ำ



ทำกิจกรรมกลุ่ม  




จัดทำหัวข้อที่จะสอนเด็กเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โดยเเบ่งตามหน่วยทั้ง 4 หน่วย





หน่วยที่ 1  : ตัวเด็ก




หน่วยที่ 2  : เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก




หน่วยที่ 3 : บุคคลเเละสานที่




หน่วยที่ 4  : ธรรมชาติรอบตัว


กลุ่มของดิฉันได้หน่วย  ตัวเด็กเรื่องร่างกายของฉัน






Skill
    การใช้คำถามถามข้อสงสัยในสิ่งที่เพื่อนนำเสนอเพื่อให้ได้รับความรู้ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นฝึกคิดหลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับของเล่นที่เราหยิบมาการปรับให้ของเล่นในวิทยาศาสตร์มีความยืดหยุ่นเเละเหมาะกับการเล่นได้หลากหลายรูปแบบ





วิธีการสอน
   ให้นักศึกษาระดมความคิดกับเรื่องที่กลุ่มตัวเองได้รับมอบหมาย ให้แรกเป็นความคิดซึ่งกันและกัน




Classroom Evaluation
   ห้องเรียนสะอาดกว้าง อุปกรณ์การเรียนเหมาะกับการใช้สอย

Self Evaluation
   มาเรียนตรงเวลา ทำงานมาส่งตามที่อาจารย์ได้รับมอบหมาย 
  
Evaluation for classmated
เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ทำงานมาส่งตรงเวลาตามที่ได้รับมอบหมาย
   
Evaluating teacher
   อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนเรียบร้อย อธิบายเข้าใจง่าย




Recorded Diary 7 September 22.2015


การนำเสนอวิจัย

The knowledge


นำเสนอวิจัยของนางสาว รัตนาภรณ์ คงกะพันธ์

เกี่ยวกับเรื่องการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร 

ของ  ผู้วิจัย เสกสรร มาตวังแสง  โดยลักษณะในการจัดกิจกรรมคือการให้เด็กได้ลงมือทำเอง 
ทําการศึกษากับกลุมตัวอยางที่เปนเด็กปฐมวัย โดยผูวิจัยสรางความคุนเคยกับกลุมตัวอยาง1 สัปดาหกอนการทดลอง จากนั้นนทําการทดสอบเพื่อวัดการคิดวิจารณญาณกอนการทดลองโดยใชแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ผูวิจัยสรางขึ้น นําแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยมาทดสอบอีกครั้ง และนําขอมูลทที่ไดจาก

การทดสอบไปทําการวิเคราะหขอมูลดวยวิธีการทางสถิต


วิจัยของนางสาว วราภรณ์ แทนคำ

เกี่ยวกับเรื่อง การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของผู้วิจัย จุฑามาศ เรือนกำ  เป็นการสร้างเเละการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยชุดกิจกรรมถูกสร้างขึ้นมาอย่างมีระบบ โดยใชุชุดกิจกรรมทั้งหมด 20 ชุด การจัดกิจกรรมเเละเวลาที่ใช้ก็มีความเหมาะสมเเละสอดคล้องกับวัย


วิจัยของนางสาว ยุภา ธรรมโคตร

เกี่ยวกับเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ของผู้วิจัย ยุพาภรณ์ ชูสาย    จะจัดกิจกรรมแบบเป็นการทดลองเปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมด้วยตนเอง เป้นการให้อิสระแก่เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งครูคอยแนะนำและช่วยเหลือให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ด้วยการทดลอง เรื่องสีจากธรรมชาติ จะสอนในเรื่อง การสังเกต การจำแนก และการหามิติสัมพันธ์


นำเสนอสื่อ เรื่องความสมดุล

ชื่อของเล่น ตาชั่งโยกเยก



อุปกรณ์
โฟมรูปทรงกลม
กาว
กรรไกร
กระดาษสี
กล่องขนาดเล็ก
กระดาษลัง
ดินสอ
ไม้บรรทัด
คัตเตอร์

ขั้นตอนการทำ




   1. ตัดโฟมให้เป็นครึ่งวงกลม




   2. ตัดกระดาษสีเป็นครึ่งวงกลมแล้วนำไปติดกับโฟมที่ตัดเตรียมไว้ทั้งสองด้าน






3.ตัดกระดาษสีปิดขอบของโฟมแล้วนำกระดาษลังที่เตรียมไว้ตัดเป็นสีเหลี่ยมผืนผ้ามาติดด้านบนของโฟม






4.นำกล่องขนาดเล็กที่เตรียมไว้มาวางไว้ทั้งสองข้างของกระดาษลังเป็นอันเสร็จสิ้น





วิธีเล่น

นำสิ่งของเติมลงไปในแต่ละข้างของกล่อง โดยให้เติมพร้อมๆกัน
ถ้าตาชั่งเอนไปทางกล่องไหน แสดงว่าของในกล่องนั้นมีน้ำหนักมากกว่า
แล้วให้เติมของลงในกล่องที่เบากว่า เพื่อให้เกิดความสมดุลของน้ำหนัก


ความสมดุล คือ องค์ประกอบ ในงานออกแบบทัศนศิลป์ ที่เกี่ยวข้องกับการ สิ่งต่าง ๆ ที่จัดวางภายในงานออกแบบนั้น ว่า อะไร อยู่ตรงไหน เมื่อมองแล้วให้ความรู้สึกไปสองทาง คือ รู้สึกว่ามีความเท่ากันทั้งสองข้าง  และรู้สึกว่าไม่หนักไปข้างใดข้างหนึ่ง



 Skill
   อาจารย์ให้ออกมานำเสนอของเล่นพร้อมกับหลักการทางวิทยาศาสตร์และนำเสนอวิจัยที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย
  
วิธีการสอน
   การบรรยายและให้นักศึกษาออกมานำเสนองานตนเองให้ความรู้กับเพื่อนๆ

Classroom Evaluation

   ห้องเรียนสะอาดกว้าง อุปกรณ์การเรียนเหมาะกับการใช้สอย

Self Evaluation
   มาเรียนตรงเวลา ทำงานมาส่งตามที่อาจารย์ได้รับมอบหมาย มีการเตรียมความพร้อมก่อนนำเสนอ
  
Evaluation for classmated
เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ทำงานมาส่งตรงเวลาตามที่ได้รับมอบหมาย
   
Evaluating teacher
   อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนเรียบร้อย สอนโดยการให้นักศึกษาออกมานำเสนอผลงานและให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลงานได้อย่างละเอียดและเข้าใจง่าย