วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Recorded Diary 3 August 25.2015


ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)

การจัดเรียน blogger ให้เป็นระเบียบ ข้อมูลที่ความใส่และสิ่งที่หน้าสนใจในการตกแต่ง ได้รู้ว่าหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มีมากมายหลายๆด้าน มีทั้งหนังสือการทดลองวิทยาศาสตร์และทฤษฎีต่างๆ ที่สามารถนำมาปรับใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้  

การยกตัวอย่างเกียวกับวิทยาศาสตร์ เช่น  รสเปรี่ยวเป็นกรด สามารถนำมาสอนในหัวข้อวิทยาศาสตร์ได้  ในเรื่องหมวดของอาการ 

สรุปความรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสัตว์

(งานคู่ : คู่กับนางสาวปรางชมพู บุญชม)

   เด็กๆชอบสัตว์ทุกขนาด และทุกลักษณะ อยากเฝ้าดูสัมผัส และเลี้ยง แต่เด็กบางคนทนไม่ได้มากนักกับสัตว์เลื้อยคลานหรือพวกกัดแทะ กิจกรรมที่เสนอแนะในบทนี้จะสามารถให้ความรู้แก่เด็กที่ชอบสัตว์ และช่วยลดความกังวลของเด็กที่ไม่ชอบให้มองเห็นถึงผลประโยชน์และความสวยงามของสัตว์เล็กๆรอบตัวเรา

ตัวอย่างกิจกรรม
กิจกรรม: แมลงคืออะไร






จุดประสงค์การเรียนรู้: เพื่อให้ทราบว่าพวกแมลงมีลักษณะอะไรคล้ายกันบ้าง


กิจกรรมกลุ่มย่อย


1.ควรวางเป็นกฎสำห
รับการเฝ้าสังเกตแมลงดังนี้
- แมลงหรือสัตว์ขนาดเล็กอื่นๆต้องอยู่ในกรง จับต้องกรงอย่างเบามือ
2.แนะให้นักเรียนสังเกตลักษณะที่บ่งบอกว่าสัตว์นั้นเป็นแมลง กล่าวคือ ร่างกายแบ่งเป็นสามส่วน( ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ) มีหกขา และหนวด 2 เส้น (antennae) แมงมุมจึงไม่ใช่แมลง (มี 8 ขา) แต่ตัวบุ้งเป็นแมลงมีเพียง 6 ขาที่เป็นขาจริงมีลักษณะเชื่อมต่อกัน
3.ชักชวนให้นักเรียนพยายามวาดภาพแมลงที่กำลังเฝ้าสังเกต
4.บอกนักเรียนด้วยว่า แมลงพวกนี้เป็นพวกโตเต็มวัย เริ่มแรกจะเป็นไข่ก่อน จากนั้นเป็นตวอ่อน (ไม่มีปีกรูปร่างคล้ายหนอน) ก่อนจะเปลี่ยนเป็นตัวโตเต็มวัย แมลงไม่มีกระดูกมีแต่เปลือกแข็งห่อหุ้มเพื่อป้องกันเนื้ออ่อนข้างใน



5.ปล่อยแมลงออกนอกห้องเรียนเมื่อถึงเวลาเลิกเรียน





ทักษะ (Skill)

การสืบค้นหาข้อมูลในห้องสมุด โดยการใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาว่า หนังสือที่เราต้องการอยู่ชั้นไหน หมวดไหน โดยเราไม่ต้องเสียเวลาในการเดินหา

วิธีสอน

สอน blogger ผ่าน Internet โดยใช้การบรรยายในการอธิบาย และการไปเรียนนอกห้องเรียน  (ห้องสมุด) โดยให้เห็นหนังสือที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อยากชัดเจน

ประเมินสภาพห้องเรียน

ห้องเรียนสะอาดดี  อากาศเย็นสบาย

ประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียนดี  มาเรียนตรงต่อเวลา

ประเมินเพื่อน

เพื่อนตั้งใจเรียนดี แต่มีเสียงดังไปบ้าง

ประเมินอาจารย์

อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย  มาสอนตรงเวลา อธิบายเกี่ยวกับหนังสือเล่มต่างๆได้เป็นอย่างดี


วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Recorded 2 August 18.2015


  Recorded 2 August 18.2015


ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)

พัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive development)


ความหมาย
การเปลี่ยนแปลงด้านความสามารถในเรื่องภาษา ความคิด เป็นไปตามรับดับขั้น


พัฒนาขึ้นมาจากการมีปฎิสัมพันธ์ Interaction กับสิ่งแวดล้อม
- เริ่มตั้งแต่แรกเกิด รู้จักตนเอง self
- การปฎิสัมพันธ์ระหว่างบุลคลกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความสมดุล equilibrium
- การมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะปรับเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

กระบวนการปฎิสัมพันธ์ (Interaction)
ประกอบไปด้วย 2 กระบวนการ

1. กระบวนการดูดซึม Assimilation
เมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึมซาบหรือดูดซึม ประสบการณ์ใหม่ให้รวมเข้าอยู่ในโครงสร้างของสติปัญญา Cognitive structure
2.กระบวนการปรับโครงสร้าง accommo detion

ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้คิด   เพีงเจ

- ขั้นที่ 1 ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว Sensorimotor stage
แรกเกิด - 2 ปี ระยะแรกมีปฎิกิริยาตอบสนอง
ขั้นที่ 2 คิดอย่างมีเหตุผล Preoperationalstage  2 - 7 ปี

ระยะที่ 1 ขั้นก่อนความคิดรวบยอด 2 - 4 ปี
- เริ่มใช้ภาษาและเข้าใจความหมายสั่นๆ ตอบตามที่เห็น
ระยะที่ 2 ขั้นคิดได้เองไม่รู้เหตุผล 4 - 7 ปี
- เริ่มมีปฎิกิริยาต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ระยะที่ 3 ขั้นปฎิบัติการคิดแบบนามประธรรม 7 -11 ปี
- คิดมีเหตุผลมากขึ้น



ทักษะ (Skill)

การได้คิดวิเคาะร์สิ่งที่อาจารย์ได้ถามมา  จึงเกิดเป็นกระบวนการคิด และการได้ฟังความคิดของผู้อื่น

วิธีสอน

สอนโดยใช้คำถาม และให้นักศึกษาได้คิดตามและสอนโดยการบรรยายประกอบกับ power point


ประเมินสภาพห้องเรียน

ห้องเรียนเย็นสบายหน้าเรียน ห้องเรียนสะอาด

ประเมินตัวเอง

ตั้งใจเรียนดี  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อยถูกระเบียบ

ประเมินเพื่อน

เพื่อนส่วนใหญ่เข้า้รียนตรงตามเวลา อาจจะมาบางคนที่เข้าเรียนสาย
เพื่อนตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มาสอนตรงตามเวลา แต่งตัวเรียบร้อย เตรียมตัวมาสอนเป็นอย่างดี สอนเข้าใจง่ายยกตัวอย่างให้เห็นภาพ




วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Recorded Diary 1 August 11.2015


Recorded Diary 1 August 11.2015



ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)

เทคนิคการสอน  

-การใช้กราฟฟิก 
-การลงมือปฎิบัติ
-การใช้คำถาม
-การใช้เทคโนโลยี
-การเป็นแบบอย่าง

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัย 

-พัฒนาการ = พัฒนาการ,สติปัญญ,ภาษา,การคิด,สร้างสรรค์,เชิงเหตุ,คณิตศาสตร์,วิทยาศาสตร์
-วิธีการเรียนรู้ = ตา,หู,ลิ้น,จมูก,กาย

การจัดประสบการณ์

-หลักการจัดประสบการณ์
-เทคนิค
-กระบวนการ
-ทฤษฎี
-สื่อและสภาพแวดล้อมสนับสนุน
-การประเมินผล

วิทยาศาสตร์

 สาระสำคัญ
-เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
-เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่
-ธรรมชาติรอบตัว
-สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

ทักษะด้านวิทยาศาสตร์
-ทักษะการสังเกต
-ทักษะการจำแนกประเภท
-ทักษะการสื่อความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูง
-ทักษะการหาสัมพันธ์
-ทักษะการคำนวน



ทักษะ skill

การตอบคำถามอาจารย์ การได้คิดวิเคาะร์สิ่งที่อาจารย์ได้ถามมา 
คิดแบบเป็นขั้นตอนตามลำดับ และได้คิดตามที่อาจารย์ได้สอน

วิธีสอน

การสอนโดยการใชคำถาม เพื่อให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิด โดยช่วยกันระดมความคิด เพื่อนำมาเรียงให้เป็นคำตอบที่สมบูรณ์

ใช้การบรรยายประกอบกับ power point

ประเมินสภาพห้องเรียน

อากาศเย็นสบาย  ห้องสะอาด  บรรยากาศหน้าเรียน

ประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียนดี มีการตอบคำถามถูกบ้างผิดบ้าง

ประเมินเพื่อน

เพื่อนตั้งใจเรียนดีมาก ช่วยกันตอบคำถามอาจารย์เป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์

อาจารย์เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี แต่งการเรียบร้อย สอนเข้าใจให้คิดตาม ให้รู้จักคิดเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น




สรุปบทความ

 สรุปบทความ

แนวทางสอนคิด เติม วิทย์ ให้เด็กอนุบาล


ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. 

กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า
                  "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็ก ๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า
                  จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริง ๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา
                  เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"
       
                            " สำหรับปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก 
                ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบ
                 คือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิดเด็กก็อาจจำไปผิด ๆ ได้"  
               นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้
    
         1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา
         2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
    
        3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์หรือในด้านของเหตุและผล
    
       4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
      5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์