วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558

Recorded Diary 6 September 15.2015


การทำงานของสมอง



การนำเสนอบทความ

1. นางสาว สุจิตรา  มาวงษ์

เรื่อง แนวทางสอนคิด เติม วิทย์ ให้เด็กอนุบาล

แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ ข้อดังนี้             1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา
         2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น

        3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์หรือในด้านของเหตุและผล

       4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
      5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ 


2. นางสาวปภัสสร สีหบุตร
เรื่อง เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานเด็กปฐมวัย

การสร้างเจตคติที่ดีต่อเด็ก ใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และต้องมีเทคนิคในการเล่านิทาน เช่น น้ำเสียง หุ่นมือ เป็นต้น จะช่วยให้เด็กมีความเข้า สนุกสนานในการฟังนิทาน

 วิทยาศาสตร์
- การเปลี่ยนแปลง 
-ความแตกต่าง รูปร่าง ลักษณะ

 หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
กีเซล เชื่อว่า พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผน ดังนั้น การจัดกิจกรรมกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะจึงเป็นการปฏิบัตืเพื่อพัฒนาเด็ก

ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)

การเรียนรู้แบบองค์รวม






การพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย



1.การเรียนรู้เเบบองค์รวมที่ครอลคลุมพัฒนาการทุกด้าน


2.เรียนรู้อย่างมีความสุข



3.การคิดเเละปฏิบัติจริง





ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

-ตอบสนองความต้องการตามวัยของเด็ก

-พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์



-เสริมสร้างประสบการณ์



ประโยชน์ของการเรียนวิทยาศาสตร์

-พัฒนาความคิดรวบยอด

-พัฒนาทีกษะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์




ทักษะ (Skill)
   อาจารย์สอนโดยให้นักศึกษาระดมความคิด แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานของสมองตามความเข้าใจของตนเอง 
           
วิธีการสอน
    การถามตอบและการบรรยายประกอบกับ power point

ประเมินห้องเรียน (Classroom Evaluation)
   ห้องเรียนสะอาด ห้องกว้างมีพื้นที่เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษาอุปกรณ์ในห้องสะดวกต่อการใช้สอย


ประเมินตนเอง (Self Evaluation)
   มาเรียนตรงเวลา แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ เตรียมความพร้อมก่อนมาเรียน 

ประเมินเพื่อน (Evaluation for classmated)
   เพื่อนมาเรียนตรงเวลา ส่วนมากแต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ 

ประเมินอาจารย์ (Evaluating teacher)
   อาจารย์แต่งกายถูกระเบียบ มาสอนตรงเวลา มีการเตรียมเนื้อหาการสอนมาอย่างดี และสอนให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลและเข้าใจง่าย




Recorded Diary 5 September 8.2015


Recorded Diary 5 September 8.2015

ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)

อาจารย์ให้กระดาษมา 1 แผ่น และให้ออกแบบเกี่ยวกับสื่อที่จะใช้สอนวิทยาศาสตร์มา 1 สื่อ

สอนเรื่องลม สื่อที่ใช้ จรวจ







   การลอยของกระดาษ 1 แผ่นก่อน เมื่อเราปล่อยกระดาษจากที่สูงในแนวราบ กระดาษจะร่อนและลดระดับไปเรื่อยๆ สิ่งที่ทำให้เคลื่อนที่คือน้ำหนัก แรงดึงคือน้ำหนัก แรงที่ทำให้ลอยคือแรงต้านของอากาศ และเมื่อนำกระดาษมาวางบนมือแล้วพุ่งไปข้างหน้า กระดาษจะเคลื่อนที่ไปในระยะสั้นมากและไม่มีทิศทาง ก่อนจะหล่นลงมาภายใต้เงื่อนไข คือแรงโน้มถ่วง แรงอากาศ และแรงผลักหรือแรงพุ่งไปข้างหน้าเมื่อเรานำกระดาษเอ 4 โค้งเป็นตัวยูทั้งหัวและท้าย โดยไม่มีรอยพับ จับกระดาษทั้ง 2 ข้างพุ่งไปข้างหน้า แผ่นกระดาษจะมีแรงต้านลดลง และพุ่งไประยะทางเพิ่มขึ้น แต่ทิศทางไม่แน่นอนเหมือนกัน แต่เมื่อทำรูปแบบเดิมคือทำให้กระดาษโค้ง แต่กรีดเป็นรอยพับแนวยาวแล้ว พุ่งไป จะไปได้ไกลขึ้น ขณะที่กระดาษกางออกจะไม่เป็นแผ่นแต่จะเป็นรูปตัววี ซึ่งเป็นเชฟหรือรูปแบบที่เคลื่อนที่ในอากาศได้ง่าย


ทักษะ (Skill)
    อาจารย์สอนโดยให้นักศึกษาได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้ทดลองว่าสิ่งที่คิดที่พูดนั้นเป็นจริงหรือไม่สอนให้รู้จักการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง


วิธีการสอน
   ให้นักศึกษาทำสื่อจากกระดาษ 1 แผ่น เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ แล้วให้นำเสนอตามหลักวิทยาศาสตร์

ประเมินตนเอง (Self Evaluation)

   ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน (Evaluation for classmated)

   เพื่อนตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือดีมากในการทำกิจกรรมและการแสดงความคิดเห็น แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบเรียบร้อย
    
ประเมินห้องเรียน (Classroom Evaluation)
  ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์การเรียนสะดวกต่อการใช้สอย 

ประเมินอาจารย์ (Evaluating teacher)
   อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนเรียบร้อย มีการเตรียมตัวมาสอนเป็นอย่างดีใช้คำพูดในการสอนได้เหมาะสมอธิบายเนื้อหาละเอียดเข้าใจง่าย


Recorded Diary 4 September 1.2015

Recorded Diary 4 September 1.2015



งดการเรียนการสอน
    เนื่องจากทางคณะศึกษาศาสตร์มีการจัดโครงการศึกษาศาสตร์วิชาการ ในวันที่ 1 กันยายน 2558 ณ ลานอเนกประสงค์ อาคาร 28 ชั้น 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ช่วงเช้าฟังบรรยาย ในหัวข้อเรื่อง "ทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21"บรรยายโดย อ.ดร.อภิภู สิทธิภูมิมงคล

ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)







การเรียนรู้เพื่อชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา(content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของตัวผู้เรียน โดยผู้สอนช่วยแนะนำและช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้

ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 3R  7C
3R คือ
- Reading (อ่านออก)
- (W) Riting (เขียนได้)
- (A) Rithemetics (คิดเลขเป็น)


สรุป การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้าม "สาระวิชา" ไปสู่การเรียนรู้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเองโดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach) และอำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL ( Problem-Based Learning)ของนักเรียนซึ่งสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้คือ ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ 







ทักษะ (Skill)

รู้การหาวิธีการสอนที่แปลกใหม่

วิธีสอน

การบรรยายประกอบกับ power point


ประเมินสภาพห้องเรียน

เย็นสบาย แต่สถานที่ห้องดูแคบ

ประเมินตัวเอง

ตั้งใจฟังดี  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อยถูกระเบียบ

ประเมินเพื่อน

คนเข้าเดินออก ไม่ตั้งใจฟัง

ประเมินอาจารย์
พูดหน้าสนใจ แต่งกายสุภาพ