วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558

Recorded Diary 6 September 15.2015


การทำงานของสมอง



การนำเสนอบทความ

1. นางสาว สุจิตรา  มาวงษ์

เรื่อง แนวทางสอนคิด เติม วิทย์ ให้เด็กอนุบาล

แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ ข้อดังนี้             1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา
         2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น

        3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์หรือในด้านของเหตุและผล

       4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
      5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ 


2. นางสาวปภัสสร สีหบุตร
เรื่อง เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานเด็กปฐมวัย

การสร้างเจตคติที่ดีต่อเด็ก ใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และต้องมีเทคนิคในการเล่านิทาน เช่น น้ำเสียง หุ่นมือ เป็นต้น จะช่วยให้เด็กมีความเข้า สนุกสนานในการฟังนิทาน

 วิทยาศาสตร์
- การเปลี่ยนแปลง 
-ความแตกต่าง รูปร่าง ลักษณะ

 หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
กีเซล เชื่อว่า พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผน ดังนั้น การจัดกิจกรรมกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะจึงเป็นการปฏิบัตืเพื่อพัฒนาเด็ก

ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)

การเรียนรู้แบบองค์รวม






การพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย



1.การเรียนรู้เเบบองค์รวมที่ครอลคลุมพัฒนาการทุกด้าน


2.เรียนรู้อย่างมีความสุข



3.การคิดเเละปฏิบัติจริง





ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

-ตอบสนองความต้องการตามวัยของเด็ก

-พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์



-เสริมสร้างประสบการณ์



ประโยชน์ของการเรียนวิทยาศาสตร์

-พัฒนาความคิดรวบยอด

-พัฒนาทีกษะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์




ทักษะ (Skill)
   อาจารย์สอนโดยให้นักศึกษาระดมความคิด แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานของสมองตามความเข้าใจของตนเอง 
           
วิธีการสอน
    การถามตอบและการบรรยายประกอบกับ power point

ประเมินห้องเรียน (Classroom Evaluation)
   ห้องเรียนสะอาด ห้องกว้างมีพื้นที่เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษาอุปกรณ์ในห้องสะดวกต่อการใช้สอย


ประเมินตนเอง (Self Evaluation)
   มาเรียนตรงเวลา แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ เตรียมความพร้อมก่อนมาเรียน 

ประเมินเพื่อน (Evaluation for classmated)
   เพื่อนมาเรียนตรงเวลา ส่วนมากแต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ 

ประเมินอาจารย์ (Evaluating teacher)
   อาจารย์แต่งกายถูกระเบียบ มาสอนตรงเวลา มีการเตรียมเนื้อหาการสอนมาอย่างดี และสอนให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลและเข้าใจง่าย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น